
ชุมชน 3 วัฒนธรรม
เนื่องจากชุมชนนีมี้ความผสมผสานของกลุ่มคน 3 เชื้อ ชาติ คือ ชาวไทยดั้งเดิม ชาวจีนและชาวญวน วิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนจึงมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งมีการผสมผสานกัน
กลุ่มคนไทยดั้งเดิม
- ทำนา ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และหาของป่า (คนชอง) (วิทยานิพนธ์น้องน้ำ)
- เป็นพวกชาวสวน หาบผักผลไม้ ของป่ามาขาย (บอร์ดข้อมูลในบ้าน 69)
- ชาวชองจะถ่อแพมาจากตะเคียนทอง คลองพลู มาในช่วงหน้าน้ำ ประเภทของสินค้าที่นำมาจากต้นน้ำ ได้แก่ ของป่า พืชไร่ สมุนไพร ไม้ ซุง เป็นต้น (ที่มา เอกสารประกอบการเสวนา 2557)
- ส่วนผู้คนล่องขึ้นจากปากน้ำที่มาติดต่อค้าขาย ได้แก่ ชาวหนองบัว ชาวแหลมสิงห์ เป็นต้น สินค้าที่นำมาได้แก่ สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล เป็นต้น (ที่มา เอกสารประกอบการเสวนา 2557)
กลุ่มคนจีน
- มักเดินเรือค้าขาย รับราชการและได้รับบรรดาศักดิ์
- ชาวจีนน่าจะมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากจันทบุรีอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล และเป็นเส้นทางการค้าระหว่างไทย-จีนมาตั้งแค่อดีต ดังนั้นจึงมีกลุ่มชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ตามแหล่งชุมชนชายฝั่งทะเล เช่น ที่อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอท่าใหม่ และอำเภอเมือง กลุ่มชาวจีนส่วนมากจะทำประมงและการค้าขาย ซึ่งชาวจีนเหล่านี้นับเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการค้าขายในจังหวัดจันทบุรีนับตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยาต้นรัตนโกสินทร์และต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ ๕ (เอกสารประกอบการเสวนา ปี 2557)
- สำหรับชาวจีนในเมืองจันท์ เป็นกลุ่มคนเดินเรือเพื่อค้าขาย และกลุ่มคนที่อพยพหนีความยากลำบากจากเมืองจีนเข้ามา มีทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนแคระ จีนฮกเกี้ยน (บอร์ดข้อมูลในบ้าน 69)
- บรรพบุรุษของชาวจันท์ส่วนใหญ่ มีเชื้อสายจีน อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ (เอกสารประกอบการเสวนา ปี 2557)
- นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ นายประสิทธิ ธนพัฒนากุล ได้ศึกษาเกี่ยวกับชาวจีนในจังหวัดจันทบุรีได้ให้รายละเอียดไว้ว่า คนจีนในเมืองจันทบุรี แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
๑.จีนฮกเกี้ยน จีนฮกเกี้ยนถือเป็นชาวจีนกลุ่มแรกที่เข้ามามากกว่ากลุ่มอื่น ลักษณะจีนฮกเกี้ยนเป็นกลุ่มที่ชำนาญการปกครอง ชาวจีนเชื้อสายนี้จะนิยมให้ลูกหลานเรียนสูงๆ เพื่อเข้ารับราชการ หรืองานสังคมชั้นสูง ดังนั้นข้าราชการเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนจึงมีมากกว่าจีนกลุ่มอื่นในจันทบุรีและเมืองหลวง
๒.จีนแต้จิ๋ว ชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเชี่ยวชาญด้านการค้าขาย ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าและรับจ้างขายแรงงาน
๓.จีนแคะ ส่วนใหญ่เป็นช่างศิลป์ เช่น ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า ทำเครื่องประดับด้วยเงินและทองคำ ช่างตัดผม เสริมสวย เป็นต้น
๔.จีนกวางตุ้ง ส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมืองานไม้ ช่างก่อสร้าง ช่อต่อเรือ และพ่อครัว
๕.จีนไหหลำ ส่วนใหญ่ชำนาญทางด้านบริการ เช่น การโรงแรม ที่พักอาศัย ร้านอาหาร เป็นต้น
กลุ่มคนญวน
- มักทำประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม ทำนา ขายอาหารและขนมชาวญวน และทอเสื่อกกแดง ซึ่งต่อมาได้หันมาทาพลอยกันมากขึ้น (วิทยานิพนธ์น้องน้ำ)
- สำหรับคนญวนในเมืองจันท์เริ่มเข้ามาในสมัยพระเพทราชา ได้อพยพลี้ภัยการเบียดเบียนศาลนามาจากเวียดนามทางเรือ และมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองจันทบูร ที่ริมแม่น้ำจันทบุรีฝั่งตะวันตกตอนล่าง เรียกกันว่า “บ้านญวน” บริเวณซอยกระจ่างและซอยศรีจันท์ในปัจจุบัน อาชีพหลักของชาวญวนในเมืองจันท์ คือ ทำนา ทำประมง ทอเสื่อกกแดง และยังเผยแพร่อาหารญวนต่างๆ เช่น ข้าวเกรียบญวน ขนมเบื้องญวน ขนมโก๋ญวน ขนมตาแบ้ว ขนมโบ๋ หมูชะมวง ก๋วยเตี๋ยวผัดปู เครื่องในเนื้อต้ม (พะล้ายต้ม) ฯลฯ (เอกสารประกอบการเสวนา 2557)
- ชาวญวน นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ที่อพยพหลบภัยศาสนามาจากเวียดนาม (เอกสารประกอบการเสวนา 2557)
- เป็นชนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จากหลักฐานการบันทึก ในเอกสารประวัติวัดคาทอลิกจันทบุรีระบุว่า ชาวญวณอพยพหนีภัยจากการเบียดเบียนศาสนาจากญวณมาตั้งภูลำเนาอยู่ที่จันทบุรีก่อนปี พ.ศ. ๒๒๕๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีชาวญวณประมาณ ๑๓๐ คน ซึ่งนับต้นกำเนิดกลุ่มคาทอลิกชาวญวณในจันทบุรี และได้มีการสร้างวัดเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาของชาวญวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี(ภารดี พันุภากร และคณะ ๒๕๔๕:๒๑)